วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

CHAPTER 2 [part2]

















       บล็อก (blog) เป็นคำรวมมาจากคำว่า เว็บล็อก (weblog) เป็นรูปแบบเว็บไซต์ประเภทหนึ่ง ซึ่งถูกเขียนขึ้นในลำดับที่เรียงตามเวลาในการเขียน ซึ่งจะแสดงข้อมูลที่เขียนล่าสุดไว้แรกสุด บล็อกโดยปกติจะประกอบด้วย ข้อความ ภาพ ลิงก์ ซึ่งบางครั้งจะรวมสื่อต่างๆ ไม่ว่า เพลง หรือวิดีโอในหลายรูปแบบได้ จุดที่แตกต่างของบล็อกกับเว็บไซต์โดยปกติคือ บล็อกจะเปิดให้ผู้เข้ามาอ่านข้อมูล สามารถแสดงความคิดเห็นต่อท้ายข้อความที่เจ้าของบล็อกเป็นคนเขียน ซึ่งทำให้ผู้เขียนสามารถได้ผลตอบกลับโดยทันที คำว่า "บล็อก" ยังใช้เป็นคำกริยาได้ซึ่งหมายถึง การเขียนบล็อก และนอกจากนี้ผู้ที่เขียนบล็อกเป็นอาชีพก็จะถูกเรียกว่า "บล็อกเกอร์"

บล็อกเป็นเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาหลากหลายขึ้นอยู่กับเจ้าของบล็อก โดยสามารถใช้เป็นเครื่องมือสื่อสาร การประกาศข่าวสาร การแสดงความคิดเห็น การเผยแพร่ผลงาน ในหลายด้านไม่ว่า อาหาร การเมือง เทคโนโลยี หรือข่าวปัจจุบัน นอกจากนี้บล็อกที่ถูกเขียนเฉพาะเรื่องส่วนตัวหรือจะเรียกว่าไดอารีออนไลน์ ซึ่งไดอารีออนไลน์นี่เองเป็นจุดเริ่มต้นของการใช้บล็อกในปัจจุบัน นอกจากนี้ตามบริษัทเอกชนหลายแห่งได้มีการจัดทำบล็อกของทางบริษัทขึ้น เพื่อเสนอแนวความเห็นใหม่ใหักับลูกค้า โดยมีการเขียนบล็อกออกมาในลักษณะเดียวกับข่าวสั้น และได้รับการตอบรับจากทางลูกค้าที่แสดงความเห็นตอบกลับเข้าไป เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์

Internet Forum
  ทำหน้าที่คล้าย bulletin board และnewsgroup
  มีการรวบรวมข้อมูลทั่ว ๆไป เช่น เทคโนโลยี, เกม,คอมพิวเตอร์, การเมือง ฯลฯ
 ผู้ใช้สามารถโพสหัวข้อลงไปในกระดานได้
  ผู้ใช้คนอื่นๆ ก็สามารถเลือกดูหัวข้อหรือแม้กระทั้ง โพสความคิดเห็นของตนเองลงไปได้


  
Wiki
Wiki อ่านออกเสียง "wicky", "weekee" หรือ "veekee"สามารถสร้างและแก้ไขหน้าเว็บเพจขึ้นมาใหม่ผ่านทางบราวเซอร์ โดยไม่ต้องสร้างเอกสาร html เหมือนแต่ก่อน

Wiki เน้นการทำระบบสารานุกรม, HOWTOs ที่รวมองค์ความรู้หลายๆ แขนงเข้าไว้ด้วยกันโดยเฉพาะ
มีเครื่องมือที่ใช้ทำ Wiki หลายอย่าง เช่น Wikipedia เป็นต้น
 Wikipedia เป็นระบบสารานุกรม(Encyclopedia) สาธารณะที่ทุกคนสามารถใส่ข้อมูลลงไปได้ รองรับภาษามากกว่า 70 ภาษารวมทั้งภาษาไทย
มีการประยุกต์ใช้ซอฟต์แวร์วิกิที่สำคัญยิ่ง ในการสร้างสารานุกรม ที่เปิดโอกาสให้ใครก็ได้มาร่วมกันสร้างสารานุกรมที่ http://www.wikipedia.org
วิกิพีเดียในภาคภาษาไทยที่ http://th.wikipedia.org
ในปัจจุบันวิกิพีเดียถือว่าเป็นแหล่งความรู้ที่สำคัญ
ซอฟต์แวร์เพื่อสังคมที่ดี พึงคงคุณลักษณะของการเปิดพื้นที่ให้กับปัจเจกบุคคลในการสื่อต่อสาธารณะโดยมีการควบคุมน้อยที่สุด
เพื่อให้การประมวลสังคม เป็นไปอย่างอิสระปราศจากการครอบงำจากเจ้าของเทคโนโลยีให้มากที่สุด
ดังนั้นการสร้างหรือพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อสังคมใดๆ พึงตระหนักถึงหลักการเคารพในสิทธิของปัจเจก (individual) ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
  
Instant Messaging
  -     เป็นการอนุญาตให้มีการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลบนเครือข่ายที่เป็นแบบ relative privacy
  -     ตัวอย่างเช่น Gtalk, Skype, Meetro, ICQ, Yahoo Messenger, MSN Messengerและ AOL Instant Messenger เป็นต้น





Folksonomy (ปัจเจกวิธาน)
 ก่อนหน้าการกำเนิดขึ้นของปัจเจกวิธาน โดยทั่วไปแล้ว ได้มีการจัดกลุ่มการจัดระเบียบและค้นหาข้อมูลในอินเทอร์เน็ต โดยทั่วไปมี 3 แบบ คือ
1. ค้นหาในเนื้อความ (Text Search)
- ตัวอย่างเช่น Google ที่ก่อตั้งโดย Sergery Brin และ Larry Page
- ได้ออกแบบเพื่อจัดอับดับความสำคัญของเว็บโดยคำนวณจากการนับ Link จากเว็บอื่นที่ชี้มาที่เว็บหนึ่ง ๆ
- เป็นที่น่าติดตามว่าจะมีเทคนิควิธีในการค้นหาข้อมูลใหม่ ๆ
2. เรียงเนื้อหาตามลำดับเวลา (Chronological)
- เนื้อหาข้อมูลจะถูกจัดเก็บเรียงลำดับเวลาโดยแสดงตามเวลาใหม่ล่าสุดก่อน
- เช่น เว็บไซต์ประเภทข่าว อย่าง CNN, BBC และ google news เนื้อหาเก่าจะตกไปอยู่ด้านล่าง
- Blog ก็ใช้วิธีจัดเรียงตามเวลาเช่นกัน
- ทั้งนี้หากต้องการอ่านเนื้อหาเก่าก็สามารถคลิกดูที่ปฏิทินได้
3. แยกตามกลุ่มประเภท (Category, Classification)
- การจัดระเบียบแบบนี้ยึดเอาหัวเป็นหลัก แล้วแยกประเภทออกไป เช่น แบ่งหนังสือเป็นประเภทธุรกิจ, หนังสือเด็ก, นวนิยาย, คอมพิวเตอร์, ศาสนา, วิทยาศาสตร์ ฯลฯ ลักษณะอื่น ๆ
- จะช่วยให้ค้นหาข้อมูลได้ง่ายขึ้น

กำเนิดปัจเจกวิธาน
-Joshua Schachter เริ่มรวบรวมเก็บเว็บต่าง ๆ เป็น Bookmark ของตนเองคนเดียวไว้มากและใช้ keywordเพื่อจัดกลุ่มแทน
-เช่น “search engine tools” และ “password security tools” ก็สามารถดึงรายชื่อเว็บทั้งหมดออกมาได้ทันที
-ปัจเจกวิธาน เรียก keyword นี้ว่า tag เป็นคำสัก 2-7 คำที่เกี่ยวกับเว็บใหม่ที่สามารถจัดเป็นกลุ่มเว็บได้
-ตัวอย่าง tag ที่เกี่ยวกับ Google Maps
  
Tag
วิธีการใช้ tag นี้มีความสะดวกตรงที่ไม่ต้องจัดลำดับชั้นการจัดระเบียบเช่นเดิม การค้นเจอเว็บก็ได้จาก tagหลาย ๆ ตัวได้ ไม่จำกัดอยู่แต่ข้อมูลใน Folder เดียวกัน Joshua นำให้ทุก ๆ คนสามารถตรวจดูเว็บที่มีการตั้งชื่อ tag โดยผู้อื่นได้

-คำว่า Folksonomy นี้ มีที่มาจากการที่ ใครก็ได้ทุก ๆ คน (Folk) มีสิทธิในการจัดทำอนุกรมวิธาน(Taxonomy) หรือ จัดกลุ่มประเภทหมวดหมู่ของเอกสารในโลกอินเทอร์เน็ตให้อยู่ในแบบที่ตนเข้าใจ
-ต่างจากการทำ Taxonomy เช่น การจัดประเภทสัตว์หรือพืช ที่อาศัยผู้รู้ เป็นผู้ดำเนินการและให้ผู้อื่นจัดว่าอะไรควรจะอยู่ประเภทไหนตามที่ผู้รู้นั้นได้กำหนดไว้แล้ว

คุณลักษณะพิเศษ ที่ได้จากปัจเจกวิธาน
-กระแสการติดตามเว็บใหม่ ๆ ตามชื่อ Tag (Stream and Feed)
-การเห็นกลุ่ม Tag ก่อตัวกันมองคล้ายกลุ่มเมฆ ตามหัวเรื่องที่สนใจ (Tag Cloud)
-การให้คะแนนความนิยม (Rating and Popularity)
-การท่องอินเทอร์เน็ตอย่างที่มีเนื้อหาข้อมูลข้ามสายกัน (Cross-Navigation)

กระแสการติดตามเว็บใหม่ (Stream and Feed)
-จากตัวอย่าง มีหน้าเฉพาะสำหรับ Tag คำว่า Tools ซึ่งก็อาจจะมีหน้าเฉพาะอื่น ๆ ให้ เข้าไปติดตาม Tagเฉพาะใด ๆ ได้ เช่น ถ้าท่านสนใจเรื่องภาษาไทย ท่านอาจจะตามอ่านได้จากหน้า “tag/thai” หรือ“tag/thai+language”
-นอกจากนี้ยังมีการสร้าง RSS feed สำหรับหน้าดังกล่าว เพื่อใช้เตือนทาง RSS reader ว่ามีเนื้อหาใหม่ ๆ ตาม Tag ดังกล่าว เกิดขึ้นเพิ่มขึ้นมา

กลุ่ม Tag ก่อตัวกันมองคล้ายกลุ่มเมฆ (Tag Cloud)
-เมื่อมีการใส่ tag เป็นจำนวนมากแล้ว ระบบของ ปัจเจกวิธาน สามารถแสดงภาพรวมออกมาได้ว่า ทุก ๆ คนใช้ tag ใดมากน้อยเพียงใด (ดังรูป) Tag ใดที่มีคนใช้มาก ก็จะตัวใหญ่ tag ใดใช้น้อยก็จะตัวเล็ก
-การแสดงภาพรวมนี้สามารถทำได้ทั้งของทุก ๆ คนรวมกัน หรือ เฉพาะบุคคลไป (ซึ่งจะชี้ให้เห็นได้ว่าบุคคลนั้นสนใจเรื่องใดบ้าง)
  
การให้คะแนนความนิยม (Rating and Popularity)
-การที่เว็บมีข้อมูลจำนวนมาก ทำให้ยากต่อการตัดสินใจเลือกว่าข้อมูลใดน่าสนใจที่สุด
-ระบบของปัจเจกวิธาน ช่วยแก้ปัญหานี้ได้ โดยการแสดงจำนวนผู้ใช้ที่ได้ใส่ tag ให้กับเว็บนั้น ๆ ถ้ามีจำนวนผู้ใช้ที่ใส่ tag มาก ก็แสดงว่าเว็บนั้นเป็นที่นิยม

เนื้อหาข้อมูลข้ามสายกัน (Cross-Navigation)
-การใช้แกนในการค้นหาถึงสามอย่างได้ช่วยให้พบข้อมูลใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น แกนดังกล่าว ได้แก่
-User : เว็บทั้งหมดที่ผู้ใช้ผู้นี้ใส่ tag ให้และเรียกดู tag cloud ของผู้ใช้ผู้นี้ได้ด้วย
-Tag: เว็บทั้งหมดที่มีการใส่ tag และเรียกดู tag ที่เกี่ยวข้องได้ด้วย
-URL: เว็บเว็บนี้มีใครใส่ tag บ้าง และใส่ว่าอะไรบ้าง
-การค้นหา อาจจะเริ่มจากที่ User แล้วไปที่แกน tag และทำให้พบ tag ที่เกี่ยวข้องได้อีก โดยไม่ได้ตั้งใจไว้ก่อนแต่แรก

การใช้ tag สามารถพบได้ในการนำไปกับเนื้อหาอื่น ๆ
-Flickr.com เก็บ และ ใส่ tag ให้กับรูปภาพ
-CiteULike.org เก็บและใส่ tag ให้เอกสารงานวิจัย (academic paper)
-43Things.com บันทึกสิ่งที่อยากทำให้ชีวิตพร้อมกับใส่ tag ให้กิจกรรมนั้น
-Tagzania.com บันทึกสถานที่ และใส่ tag ให้กับสถานที่หรือแผนที่


อนาคตของ ปัจเจกวิธาน (Folksonomy)
-ระบบการใช้ tag จะมีการนำไปประยุกต์ใช้กับ Blog และ Wiki เพื่อความสะดวกให้การค้นหาความรู้ต่าง ๆ ที่บรรจุไว้ในซอฟต์แวร์ทั้งสอง
-ในระยะยาวอาจจะมีการแข่งขันของโปรแกรมลักษณะนี้อีกก็เป็นไปได้ โดยที่อาจจะมีคุณลักษณะเพิ่มเติมที่ง่ายต่อการใช้งาน และมีความสามารถใหม่ ๆ

Networking standards

ในส่วนนี้จะกล่าวถึง Internet Standard เป็นขบวนการที่เกี่ยวข้องกับทุก ๆ protocol & procedure และระเบียบแบบแผนต่าง ๆ ที่ใช้ในระบบอินเตอร์เน็ต ไม่จำเป็นว่ามันจะเป็นส่วนหนึ่งของ TCP/IP protocol หรือไม่ในกรณีของหลาย ๆ protocol จะถูกพัฒนาและทำให้เป็นมาตรฐานด้วยองค์กรที่ไม่ใช่เป็นองค์การของอินเตอร์เน็ต (non-Internet organizations) แต่อย่างไรก็ตามโดยทั่วไปแล้ว the Internet Standards Process ก็จะถูกทำให้เป็น application ของ โปรโตคอลและ procedure ของ Internet context ไม่ใช่ว่าเพื่อระบุให้โปรโตคอลของมันเอง



TCP/IP

-ข้อตกลงในการควบคุมการรับส่งข้อมูล และ internet หรือ protocol ของระบบ internet Transmission Control Protocol/Internet
-โปรโตคอล TCP/IP เป็นชื่อเรียกของชุดโปรโตคอลที่สำคัญ มีการใช้งานกันอย่างแพร่หลายตามการขยายตัวของอินเตอร์เน็ต/อินทราเน็ต ความจริงแล้วโปรโตคอล TCP/IP เป็นกลุ่มของโปรโตคอลหลายตัว ที่ประกอบกันเป็นชุดให้ใช้งาน โดยมีคำเต็มว่า Transmission Control Protocol/Internet Protocol ซึ่งจากชื่อเต็มทำให้ เราเห็นว่าอย่างน้อยก็มีโปรโตคอลประกอบกันทำงานร่วมกัน 2 โปรโตคอล คือ TCP และ IP
-โปรโตคอลที่มีบทบาทสำคัญในการทำงานในเครือข่ายอินเตอร์เน็ต คือ Internet Protocol (โปรโตคอลIP) เนื่องจาก เมื่อโปรโตคอลอื่น ๆ ต้องการส่งผ่านข้อมูลข้ามเครือข่ายในอินเตอร์เน็ตนั้น จะต้องอาศัยการผนึกข้อมูล (encapsulation) ไปกับโปรโตคอล IP ที่มีกลไกการระบุเส้นทาง (route service) ผ่านGateway หรือ Router เนื่องจากกลไกการระบุเส้นทาง จะทำงานที่โปรโตคอล IP เท่านั้น และด้วยเหตุนี้เราจึงเรียก IP ว่าเป็นโปรโตคอลที่มีความสามารถระบุเส้นทางการส่งผ่านของข้อมูลได้ (routable)


The HTTP protocol

HTTP มาจากคำว่า Hypertext Transfer Protocol ซึ่งเป็น Protocol ที่ใช้ในการส่งเดต้าต่าง ๆ ในโลกของ World Wide Web. เดต้าต่าง ๆ เหล่านี้โดยทั่วไปมักจะถูกเรียกว่า Resource โดย Resource เหล่านี้อาจจะเป็นไฟล์ เช่น HTML ไฟล์, หรือคำสั่งต่าง ๆ (Query String)
HTTP เป็น network protocol ที่ใช้หลักการของ client-server model ในการติดต่อสื่อสารซึ่งหลักการทำงานอย่างคร่าว ๆ มีดังนี้
1.HTTP Client จะทำการสร้างคอนเนคชั่นไปหา HTTP Server ซึ่งโดยทั่วไปจะผ่านทาง socket ของTCP/IP
2.หลังจากนั้น HTTP Client จะทำการส่งคำสั่ง (request) ซึ่งโดยทั่วไปจะผ่านทาง socket ของ TCP/IP
3. HTTP Server จะทำการตีความคำสั่งที่ได้และส่งผล (response) ซึ่งเป็น resource ที่ HTTP Clientต้องการกลับมา (ผลที่ส่งกลับมาจะเป็นลักษณะของ message คล้ายกับ request ของ HTTP Client ที่ส่งมาให้ HTTP Server)
4.หลังจากที่การส่ง response เสร็จสิ้น, HTTP Server จะทำการปิดคอนเนคชั่นที่มาจาก HTTP Client
5.ในกรณีที่ HTTP Client ต้องการ resource อื่น ๆ, HTTP Client จะต้องการทำการสร้างคอนเนคชั่นใหม่และส่งคำสั่งไปหา HTTP Server อีกครั้ง จากหลักการข้างต้นจะเห็นว่าการติดต่อสื่อสารระหว่าง Client และServer จะเป็นลักษณะครั้งต่อครั้งในทาง network เราเรียกการติดต่อสื่อสารแบบนี้ว่า Stateless Protocol

Uniform resource locators (URLs)

คือตัวระบุแหล่งทรัพยากรสากล (URI) ประเภทหนึ่ง ซึ่งใช้สำหรับระบุแหล่งที่อยู่ของทรัพยากรที่ต้องการ และมีกลไกบางอย่างสำหรับดึงข้อมูลทรัพยากรนั้นมา ในการใช้เอกสารทางเทคนิคและการอภิปรายทั่วไป มักจะใช้ URL แทน ความหมายที่คล้ายกับ URI ซึ่งไม่ใช่ความหมายที่ถูกต้องและอาจทำให้เกิดความสับสน ในภาษาพูดทั่วไป URL อาจหมายถึง ที่อยู่บนเว็บ หรือ ที่อยู่ Internet ก็ได้ ซึ่งปกติแล้วเรามักพิมพ์ URL ในแถบที่อยู่ของ Web browser เพื่อเรียกข้อมูลจากเว็บไซต์

Domain names

คือ ชื่อเว็บไซต์ (www.yourdomain.com) ที่สามารถเป็นเจ้าของ ซึ่งจะต้องไม่ซ้ำกับคืนอื่น เพื่อการเรียกหาเว็บไซต์ที่ต้องการ ชื่อเว็บไซต์คือ สิ่งแรกที่แสดง หรือ ประกาศความมีตัวตนบนอินเตอร์เน็ตให้คนทั่วไปได้รู้จัก สามารถมีได้ชื่อเดียวในโลกเท่านั้น เช่น www.gict.co.th เมื่อผู้ใช้กรอกชื่อลงไปในช่อง Address ของ Internet Explorer ก็จะส่งชื่อไปร้องถามจากเครื่องแปลชื่อ Domain Name Server และได้รับกลับมาเป็นไอพีแอดเดรส (Internet Protocol) แล้วส่งคำร้องไปให้กับเครื่องปลายทางตามไอพีแอดเดรส และได้ข้อมูลกลับมาตามรูปแบบที่ร้องขอไป
ข้อควรรู้ก่อนจดโดเมน

-ความยาวของชื่อ Domain ตั้งได้ไม่เกิน 63 ตัวอักษร
-Domain ต้องจดในชื่อของเราเท่านั้น Domain Ownership
-ถ้าเป็น Domain ของบริษัท พยายามจดภายใต้บริษัท อย่าจดชื่อพนักงาน IT
-ข้อมูลที่สำคัญที่สุดของ Domain คือ Owner Detail
-ใช้อีเมล์ที่จะอยู่กับเราตลอดไปในการจดโดเมน ซึ่งเป็นสิ่งเดียวที่ใช้ติดต่อกับเราเรียกว่า Registrant E-mail

-บันทึกข้อมูลเกี่ยวกับ Domain ของเราไว้ให้ดี วันหมดอายุ ผู้ติดต่อ และอื่น ๆ

คำถามท้ายบทที่ 2


E-Business และ E-Commerce เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร

E-business คืออะไร
      e-Business นั้น คือ การดำเนินกิจกรรมทาง ธุรกิจต่างๆ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ การใช้คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสารและอินเทอร์เน็ต เพื่อทำให้กระบวนการทางธุรกิจ มีประสิทธิภาพ และตอบสนองความต้องการของคู่ค้า และลูกค้าให้ตรงใจ และรวดเร็วและเพื่อลดต้นทุน และขยายโอกาสทางการค้า และการบริการ เมื่อเข้าสู่ยุคดิจิทัลจะมีคำศัพท์ที่ได้ยินบ่อยๆ อาทิ

        
E-Commerce คืออะไร
    E-Commerce มีชื่อที่แปลเป็นภาษาไทยว่า พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์โดยความหมายของคำว่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ มีผู้ให้คำนิยามไว้เป็นจำนวนมาก แต่ไม่มีคำจำกัด                      
ความใดที่ใช้เป็นคำอธิบายไว้อย่างเป็นทางการ ซึ่งมีดังนี้
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ การดำเนินธุรกิจโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์” (ศูนย์พัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์, 2542)” “พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ การผลิต การกระจาย การตลาด การขาย หรือการขนส่งผลิตภัณฑ์และบริการโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์” (WTO, 1998) “พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ ธุรกรรมทุกประเภทที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมเชิงพาณิชย์ ทั้งในระดับองค์กรและส่วนบุคคล บนพื้นฐานของ การประมวลและการส่งข้อมูลดิจิทัลที่มีทั้งข้อความ เสียง และภาพ” (OECD, 1997)

     

จากความหมายของ e-business กับ e-commerce จะเห็นได้ว่าสองคำนี้มีความหมายที่ใกล้เคียงกัน แต่อันที่จริงแล้วมีความหมายต่างกันโดย e-business สรุปความหมายได้ว่าคือการทำกิจกรรมทุกๆอย่าง ทุกขั้นตอนผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีขอบเขตกว้างกว่า แต่ e-commerce จะเน้นที่การซื้อขายสินค้าและบริการผ่านเครือข่ายอินเทอร์เนตเท่านั้น จึงสรุปได้ว่า e-commerce เป็นส่วนหนึ่งของe-business





Business-to-Business (B2B) 
        
            หมายถึง ผู้ประกอบการ กับ ผู้ประกอบการ (Business to Business – B2B) คือการค้าระหว่างผู้ค้ากับลูกค้าเช่นกัน แต่ในที่นี้ลูกค้าจะเป็นในรูปแบบของผู้ประกอบการ ในที่นี้จะครอบคลุมถึงเรื่อง การขายส่ง การทำการสั่งซื้อสินค้าผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ ระบบห่วงโซ่การผลิต (Supply Chain Management) เป็นต้น ซึ่งจะมีความซับซ้อนในระดับต่างๆกันไป


Business-to-Customer (B2C)

            หมายถึง ผู้ประกอบการ กับ ผู้บริโภค (Business to Consumer - B2C) คือการค้าระหว่างผู้ค้าโดยตรงถึงลูกค้าซึ่งก็คือผู้บริโภค เช่น การขายหนังสือ ขายวีดีโอ ขายซีดีเพลงเป็นต้น


Business-to-Business-to-Customer (B2B2C)


          หมายถึง เป็นการเชื่อมต่อ B2B และ B2C เข้าด้วยกัน นั่นคือ องค์กรธุรกิจขายให้องค์กรด้วยกัน แต่องค์กรจะจัดส่งสินค้าให้ลูกค้าอีกทีหนึ่ง

Customer-to-Customer (C2C)

          หมายถึง ผู้บริโภค กับ ผู้บริโภค (Consumer to Consumer - C2C) คือการติดต่อระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภคนั้น มีหลายรูปแบบและวัตถุประสงค์ เช่นเพื่อการติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร ในกลุ่มคนที่มีการบริโภคเหมือนกัน หรืออาจจะทำการแลกเปลี่ยนสินค้ากันเอง ขายของมือสองเป็นต้น

Customer-to-Business (C2B)

          หมายถึง คือการที่ลูกค้าระบุตัวสินค้าหรือบริการเฉพาะเจาะจงลงไปแล้วตัวองค์กรเป็นตัวจัดหาสินค้าหรือบริการให้ลูกค้า

Mobile Commerce


          หมายถึง M-Commerce คือ การดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรม หรือการเงิน โดยผ่านเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือการค้าขายตามระบบแนวความคิดของระบบการค้าอิเล็กทรอนิกส์ E-Commerce ที่ใช้อุปกรณ์พกพาไร้สายเป็นเครื่องมือในการสั่งซื้อ และขายสินค้า ต่างๆ ทั้งการสั่งซื้อสินค้าที่เป็นรูปธรรม หรือนามธรรม รวมทั้งการรับ-ส่งอีเมล์ สิ่งที่น่าสนใจ และเป็นจุดที่น่าศึกษา คือ โทรศัพท์เคลื่อนสามารถพกพาไปได้ทุกที่ไม่จำกัด ทำให้ตลาดการค้าออนไลน์ หรือการทำธุรกรรมเชิงพาณิชย์ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ เป็นตลาดที่น่ากลัวที่สุด เพราะสะดวกสบาย ไม่มีข้อจำกัดในการจับจ่าย และคนในสังคมไทยมีความคุ้นเคยกับการ ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่อยู่แล้ว โดย M-Commerce เป็นการแตกแขนงของเทคโนโลยีที่มีผลกระทบโดยตรงต่อการขยายตัวของธุรกิจพาณิชย์อิเล็คทรอนิคส์ โดย M-Commerce จะช่วยเร่งอัตราการเติบโตให้กับการดำเนินธุรกรรมผ่านเครือข่ายอิเล็คทรอนิคส์ได้เร็วกว่าการใช้เทคโนโลยี E-Commerce ขอบเขตของ M-Commerce ครอบคลุมทั้งการดำเนินธุรกรรมระหว่างผู้ดำเนินธุรกิจ กับผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Business to Customer หรือ B2C) และระหว่างผู้ดำเนินธุรกิจด้วยกันเอง (Business to Business หรือ B2B)

วันพฤหัสบดีที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

CHAPTER 2 [part1]

E-business infrastructure

หมายถึง การรวมกันของฮาร์ดแวร์เช่น Server, Client PC ในองค์กรรวมถึงการใช้เครือข่ายในการเชื่อมโยงฮาร์ดแวร์เหล่านี้และการใช้งานซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการส่งมอบบริการให้กับผู้ใช้งานที่อยู่ในบริษัทและยังรวมถึงคู่ค้าและลูกค้าของตน ซึ่งคำว่า Infrastructure ยังรวมไปถึงสถาปัตยกรรมทางด้านHardware , Software และ เครือข่าย ที่มีอยู่ในบริษัทด้วย และท้ายที่สุด ยังรวมไปถึงกระบวนการในการนำเข้าข้อมูลและเอกสารเข้าสู่ระบบE-business ด้วย
 
ส่วนประกอบของ E-business infrastructure components
 
 
 
 

อินทราเน็ตถูกใช้อย่างกว้างขวางเพื่อรองรับการขายในด้านธุรกิจ e - commerce โดยเน้นทำงานจากฝ่ายการตลาดเป็นหลัก ซึ่งจะช่วยสนับสนุนกิจกรรมหลักของ supply-chain management  เอ็กซ์ทราเน็ตเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ช่วยให้การเข้าถึงข้อมูลโดยควบคุมจากภายนอกองค์กร สำหรับธุรกิจที่เฉพาะเจาะจง อินทราเน็ตถูกใช้อย่างกว้างขวางเพื่อรองรับการขายในด้านธุรกิจ e - commerce โดยเน้นทำงานจากฝ่ายการตลาดเป็นหลัก ซึ่งจะช่วยสนับสนุนกิจกรรมหลักของ supply-chain management
        คำว่า  World Wide Web,  หรือเรียกสั้นๆว่า ‘web’ คือขั้นตอนมาตรฐานในการแลกเปลี่ยนข้อมูล  ข้อมูลสาธารณะบนโลกอินเทอร์เน็ต โดยรูปแบบเอกสารพื้นฐานคือ HTML (Hypertext Markup Language) หรือ  การบริการหนึ่งในรูปแบบต่างๆของการให้บริการของอินเตอร์เน็ต สำหรับผู้พัฒนาเว็บ หรือผู้ที่ต้องการเขียนโปรแกรมเพื่อติดต่อสื่อสารผ่านเว็บ

 

 
 
 
 
Internet technology  ช่วยให้การสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์หลายล้านเครื่องที่เชื่อมต่อทั่วโลก แต่ในการถ่ายโอนข้อมูลนั้นไร้รอยต่อของวิธีการเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น  การร้องขอข้อมูลจะถูกส่งจากคอมพิวเตอร์ไคลเอนต์และอุปกรณ์มือถือที่มีผู้ใช้ร้องขอการบริการให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์ที่เก็บข้อมูลโปรแกรมประยุกต์ทางธุรกิจและโฮสต์ที่ส่งมอบการบริการในการตอบสนองต่อการร้องขอ ดังนั้นอินเทอร์เน็ตจึงเป็นระบบเขนาดใหญ่ในรูปแบบ Client / Server



Intranet applications  อินทราเน็ตถูกใช้อย่างกว้างขวางเพื่อรองรับการขายในด้านธุรกิจ e - commerce โดยเน้นทำงานจากฝ่ายการตลาดเป็นหลัก ซึ่งจะช่วยสนับสนุนกิจกรรมหลักของ supply-chain management

 

 
Extranet applications  เอ็กซ์ทราเน็ตเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ช่วยให้การเข้าถึงข้อมูลโดยควบคุมจากภายนอกองค์กร สำหรับธุรกิจที่เฉพาะเจาะจง








 

อินเทอร์เน็ต หมายถึง ลักษณะของการเชื่อมต่อของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั้งเล็กและใหญ่จำนวนมากเข้าด้วยกัน โดยมีข้อกำหนดว่าทุกเครือข่ายที่เชื่อมต่อถึงกัน จะต้องอยู่ภายใต้มาตรฐานของการเชื่อมต่อ(โปรโตคอล) ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใช้งานบนเครือข่ายแบบนี้โดยเฉพาะ ซึ่งเรียกว่า TCP/IP

การใช้งานอินเทอร์เน็ต  การใช้บริการเว็บจะทำงานภายใต้ โปรโตคอล HTTP  โดยโปรโตคอลจะเป็นตัวกำหนดวิธีการส่งข้อมูลหรือไฟล์ ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็น Client และ Server รวมถึงการกำหนด กฏระเบียบในการติดต่อด้วย เราจะใช้โปรแกรมประเภท Browser เป็นตัวช่วยในการติดต่อสื่อสาร

 
 
 
เว็บเบราว์เซอร์ (web browser) เบราว์เซอร์ หรือ โปรแกรมดูเว็บ คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ผู้ใช้สามารถดูข้อมูลและโต้ตอบกับข้อมูลสารสนเทศที่จัดเก็บในหน้าเวบที่สร้างด้วยภาษาเฉพาะ เช่น ภาษาเอชทีเอ็มแอล (html)

เช่น
-Internet Exlorer         
-Mozilla Firefox           
-Google Chrome         
-Safari


             เว็บเซิร์ฟเวอร์ (Web Server) คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งให้บริการที่เก็บเว็บไซต์ (Server) แล้วให้ผู้ใช้ (Client) เรียกชมหน้าเว็บไซต์ได้โดยใช้โพรโทคอล HTTP ผ่านทางเว็บเบราว์เซอร์

       browser compatibility  การตรวจสอบเว็บไชต์สามารถรองรับกับการเข้าชมเว็บไซต์ผ่าน Browser ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซี่งเมื่อนักพัฒนาโปรแกรมพัฒนาเว็บไซต์ขึ้นมาแล้วต้องคำนึงถึง เว็บไชต์นั้นๆ สามารถใช้งานผ่าน browser ต่างๆได้หรือไม่ ซึ่งในปัจจุบันมีโปรแกรมช่วยทดสอบ ในเรื่องของ browser compatibility 
 
 

 
 
Internet-access software applications
-Evolution Web 1.0,Web 2.0 to Web 3.0
Web 1.0 = Read Only, StaticData with simple markup
Web 1.0 ผู้เข้าชมสามารถอ่านได้อย่างเดียว (Read-only ) เป็นเทคโนโลยีที่สามารถที่สามารถแก้ไขข้อมูลหน้าตาของเว็บไซต์ได้เฉพาะผู้ดูแลเว็บไซต์ ( Web master ) เท่านั้น
 
Web 2.0 = Read/Write,Dynamic Data through Web Services
Web 2.0 คือ ผู้เข้าชมสามารถอ่านและเขียนได้( Read-Write ) เป็นเทคโนโเว็บไซต์ที่พัฒนาต่อจาก web1.0 เป็น เทคโนโลยีเว็บไซต์ที่สามารถโต้ตอบกับผู้ใช้งานได้ เช่นเว็บบอร์ด เว็บบล็อก วิพีเดีย เป็นต้น
 
 
Web 3.0 =Read/Write/Relate, Data with structured Metadata + managed identity
Web 3.0 เป็นการนำแนวคิดของ Web 2.0 มาทำให้ Web นั้นสามารถจัดการข้อมูลจำนวนมากๆให้อยู่ในรูปแบบ Metadata ที่หมายถึงข้อมูลที่บอกรายละเอียดของข้อมูล(Data about data) ทำให้เว็บกลายเป็น Semantic Web คือ ตัว Web จะทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านั้นแล้วให้ Tags ตามความเหมาะสมให้เราแทน โดยข้อมูลแต่ละ Tagจะมีความสัมพันธ์กับอีก Tag หนึ่งโดยปริยายทำให้อินเตอร์เน็ตกลายเป็นฐานข้อมูล ความรู้ขนาดใหญ่ที่ข้อมูลทุกอย่างถูกเชื่อมต่อกันอย่างเป็นระบบมากขึ้น