วันศุกร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

CHAPTER 9


E-government

                รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ หรือที่เรียกว่า e-Government คือ วิธีการบริหารจัดการภาครัฐสมัยใหม่ โดยการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเครือข่ายสื่อสารเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการ ดำเนินงานภาครัฐ ปรับปรุงการบริการแก่ประชาชน การบริการด้านข้อมูลและสารสนเทศเพื่อส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ประชาชนมีความใกล้ชิดกับภาครัฐมากขึ้น สื่ออิเล็กทรอนิกส์จะเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการเข้าถึงบริการของรัฐ ประการสำคัญจะต้องมีความร่วมมืออย่างใกล้ชิดและเต็มใจจากทั้ง 3 ฝ่าย ได้แก่ ภาครัฐ ภาคธุรกิจและประชาชน
                ผลพลอยได้ที่สำคัญที่จะได้รับคือ ธรรมาภิบาลและความโปร่งใสที่มีมากขึ้นในกระบวนการทำงานของระบบราชการ อันเนื่องมาจากการเปิดเผยข้อมูล และประชาชนสามารถเข้ามาตรวจสอบได้ตลอดเวลา

การแบ่งกลุ่มตามผู้รับบริการของ e-Government 


B2C ภาคธุรกิจสู่ผู้บริโภค (Business to Consumer)
B2B ภาคธุรกิจสู่ภาคธุรกิจ (Business to Business)
G2G ภาครัฐสู่ภาครัฐด้วยกัน (Government to Government)
G2C ภาครัฐสู่ประชาชน (Government to Citizen)
G2B ภาครัฐสู่ภาคธุรกิจ (Government to Business)
G2E ภาครัฐสู่ภาคข้าราชการและพนักงานของรัฐ (Government to Employee)

เงื่อนไขการพัฒนา e-Government  โดยมีผลสำเร็จตรงกับความต้องการของประชาชน
                E-Governance จะต้องมีการพัฒนา ใช้ประโยชน์ และบังคับใช้นโยบาย กฎหมาย และกฎระเบียบอื่นใดที่จำเป็นต่อการสนับสนุนการทำงานของสังคมและเศรษฐกิจใหม่ ที่จะใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (สังคมดิจิตอล) เป็นกลไกในการขับเคลื่อน
          Digital Society สังคมดิจิตอล เป็นสังคมและชุมชนที่ก้าวหน้าทางวิทยาการ ที่ประชาคมในกลุ่มสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกับชีวิตประจำวัน ในการทำงาน และความบันเทิง ตลอดจนมีความสามารถในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
          Digital Divide เป็นผลจากสังคมอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งมีประชาชนกลุ่มที่ไม่สามารถเข้าถึง เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารโดยเฉพาะอินเทอร์เน็ต ทำให้ประชาชนกลุ่มนี้ด้อยโอกาสและไม่สามารถเข้าถึงบริการ


จากเงื่อนไขทั้งสามประการที่กล่าวมานั้น e-Government จะต้องพัฒนาสิ่งต่อไปนี้ให้เกิดขึ้น
  • เพิ่มขีดความสามมารถของประชาชนจำนวนมาก ให้เข้าถึงบริการของรัฐ
  • เพิ่มการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยทำให้เกิดการปฏิสัมพันธ์ระหว่างประชาชนและหน่วยราชการ
  • เพิ่มความโปร่งใสในกระบวนการทำงานราชการ และปรับกระบวนทัศน์ (Paradigm Shift) ของระบบราชการต่อเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

ประเภทของบริการ e-government
บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ เป็นสิ่งสำคัญในการสร้างรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งรัฐบาลจะต้องกำหนดเป้าหมายให้ชัดเจน เพื่อให้ผู้รับบริการสามารถคาดหวังสิ่งที่ควรจะได้รับจากรัฐบาล บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ขั้นพื้นฐาน


องค์ประกอบของ e-Government
1. ความพร้อมของผู้นำ
2.ความพร้อมในเชิงโครงสร้างพื้นฐาน
3. ความพร้อมของภาครัฐบาล
4. ความพร้อมของประชาชนและสิ่งแวดล้อม

ประชาชนจะได้อะไร จาก E-government
  • สร้างโอกาสให้ประชาชนได้เลือกใช้บริการที่หลากหลายผ่านอินเทอร์เน็ต
  • ประชาชนได้รับบริการจากรัฐที่ดีขึ้น
  • รัฐให้ข้อมูลกับประชาชนได้ มากขึ้น
  • ลดช่องว่างและความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงข้อมูลและบริการของรัฐ
  • ลดความยุ่งยากของกฎเกณฑ์ เพิ่มความโปร่งใสในการทำงาน
  • เพิ่มความเชื่อมั่นของประชาชนในการรับบริการอย่างปลอดภัย และเป็นส่วนตัว
ทำไมจึงต้องมี e-Government
                ในโลกยุคไร้พรมแดนนั้น e-Commerce ถือว่าเป็นยุทธวิธีสำคัญในการแข่งขันเกี่ยวกับการค้า การผลิต และการบริการ จึงทำให้เกิดคำว่า B to C (Business to Consumer) ในขณะเดียวกันประเทศต่างๆ เริ่มมองเห็นว่า แม้จะพัฒนา e-Commerce ให้ก้าวหน้ามากยิ่งขึ้นเพียงใดก็ตาม ถ้าขาดเสียซึ่งตัว G (Government) ก็จะขาดความคล่องตัวไปด้วย G จึงมีบทบาทสำคัญในนโยบายของนานาประเทศรวมทั้งประเทศไทย และทำใ้ห้เกิดคำใหม่ คือ G to B G to C และ G to G ซึ่งก็คือการนำ e-Commerce มาใช้กับการพัฒนาประเทศและบริการของภาครัฐได้นแนวทางที่เรียกว่า e-Government (electronic-Government) หรือ รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ นั่นเอง 

ลักษณะการให้บริการของ e-Government
                หลักสำคัญของการสร้าง e-Government คือการนำบริการของภาครัฐสู่ประชาชน โดยใช้อิเล็กทรอนิกส์เป็นสื่อในการให้บริการ โดยหลักการของ
  • ที่เดียว   
  • ทันใด   
  • ทั่วไทย  
  • ทุกเวลา  
  • ทั่วถึงและเท่าเทียม  
  • โปร่งใสและเป็นธรรมาภิบาล






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น