วันพฤหัสบดีที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ยี่เป็นของฉัน


ประเพณียี่เป็ง 

เป็นประเพณีลอยกระทงตามประเพณีล้านนาที่จัดทำขึ้นในวันเพ็ญเดือน 2 ของชาวล้านนา  ยี่เป็ง เป็นภาษาคำเมืองในภาคเหนือ คำว่า "ยี่" แปลว่า สอง และคำว่า "เป็ง" ตรงกับคำว่า "เพ็ญ" หรือพระจันทร์เต็มดวง ซึ่งชาวไทยในภาคเหนือจะนับเดือนทางจันทรคติเร็วกว่าไทยภาคกลาง 2 เดือน ทำให้ เดือนสิบสองของไทยภาคกลาง ตรงกับเดือนยี่ หรือเดือน 2 ของไทยล้านนา            

         
ประเพณียี่เปงจะเริ่มตั้งแต่ วันขึ้น 13 ค่ำ ซึ่งถือว่าเป็น "วันดา"  หรือวันจ่ายของเตรียมไปทำบุญเลี้ยงพระที่วัด ครั้นถึงวันขึ้น 14 ค่ำ พ่ออุ้ยแม่อุ้ยและผู้มีศรัทธาก็จะพากันไปถือศีล ฟังธรรม และทำบุญเลี้ยงพระที่วัด มีการทำกระทงขนาดใหญ่ตั้งไว้ที่ลานวัด  ในกระทงนั้นจะใส่ของกินของใช้ ใครจะเอาของมาร่วมสมทบด้วยก็ได้เพื่อเป็นทานแก่คนยากจน ครั้นถึง วันขึ้น 15 ค่ำ จึงนำกระทงใหญ่ที่วัดและกระทงเล็ก ๆ ของส่วนตัวไปลอยในลำน้ำ            
 
          ในงานบุญยี่เป็งนอกจากจะมีการปฏิบัติธรรม ฟังเทศน์มหาชาติตามวัดวาอารามต่าง ๆ แล้ว ยังมีการประดับตกแต่งวัด บ้านเรือน และถนนหนทางด้วยต้นกล้วย ต้นอ้อย ทางมะพร้าว ดอกไม้ ตุง ช่อประทีป และชักโคมยี่เป็งแบบต่าง ๆ ขึ้นเป็นพุทธบูชา พอตกกลางคืนก็จะมีมหรสพและการละเล่นมากมาย มีการแห่โคมทอง พร้อมกับมีการจุดถ้วยประทีป (การจุดผางปะติ๊ด)  เพื่อบูชาพระรัตนตรัย การจุดบอกไฟ การจุดโคมไฟประดับตกแต่งตามวัดวาอาราม และการจุดโคมลอยปล่อยขึ้นสู่ท้องฟ้าเพื่อบูชาพระเกตุแก้วจุฬามณีบนสรวงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์



           ตามวัฒนธรรมของล้านนาจะแบ่งโคมไฟออกเป็น 4 แบบ คือ "โคมติ้ว" หรือ โคมไฟเล็กที่ห้อยอยู่กับซีกไม้ไผ่ซึ่งผู้คนจะถือไปในขบวนแห่และนำไปแขวนไว้ที่วัด   แบบที่สองเรียก "โคมแขวน"  ที่ใช้แขวนบูชาพระพุทธรูปแบบด้วยกันเช่น รูปดาว รูปตะกร้า โดยปกติจะใช้แขวนตามวัดหรือตามหิ้งพระก็ได้แบบที่สามเรียก "โคมพัด" ทำด้วยกระดาษสาเป็นรูปกรวยสองอันพันรองแกนเดียวกันด้านนอกจะไม่มีลวดลายอะไรส่วนด้านในจะตัดแต่งเป็นรูปทรงต่าง ๆ ในทางพุทธศาสนา เมื่อจุดโคมด้านใน แสงสว่างจะทำให้เกิดเงาบนกรวย ด้านนอกก็จะเคลื่อนไหวคล้ายตัวหนังตะลุงแบบสุดท้ายเรียก "โคมลอย" เป็นโคมใหญ่มีรูปร่างคล้ายบอลลูน ตัวโครงทำจากซีกไม้ไผ่หุ้มด้วยกระดาษสา เมื่อจุดโคม ความร้อนจากเปลวไฟ จะทำให้โคมลอยตัวขึ้น  การปล่อยโคมลอยนี้จะทำกันที่วัดหรือตามบ้านคน โดยเชื่อกันว่าโชคร้ายทั้งหลายจะลอยไปกับโคม
 
          ในช่วงมีพิธีนี้ทั้งวันทั้งคืน ชาวบ้านและพระสงฆ์จะช่วยกันทำโคมอย่างขะมักเขม้น นอกจากบริเวณโรงแรมใหญ่ ๆ แล้ว บริเวณวัดก็จัดเป็นสถานีที่เหมาะสำหรับการปล่อยโคมอีกด้วย กิจกรรมนี้ได้รับความนิยมมากเสียจนกระทั่งว่าในช่วงสำคัญของงานการฝึกบินของกองทัพอากาศไทยต้องหยุดระงับไว้ชั่วคราวจนกว่าโคมเหล่านี้จะลอยไปหมดแล้ว ในขณะที่การบินพาณิชย์ที่สนามบินก็ได้รับคำเตือนให้เพิ่มความระมัดระวังอย่างมากที่สุดเพราะโคมที่กำลังลอยขึ้นนี้อาจเป็นอันตรายต่อใบพัดของเครื่องยนต์ไอพ่นได้


          เพื่อร่วมฉลองโอกาสอันเป็นมงคลนี้ แต่ละคนต่างก็ทำบุญโดยการออกค่าใช้จ่ายในการทำบัลลูนเพื่อขับไล่โชคร้ายออกไปและให้โชคดีเข้ามาแทนที่ ถ้าหากโคมลอยของพวกเขาขึ้นไปได้สูงและลอยไปได้ไกลมาก นี่ก็แสดงว่าเขาจะประสบความเจริญรุ่งเรือง กล่าวกันว่า โคมลอยที่ใช้ความร้อนชนิดนี้สามารถลอยขึ้นได้สูงถึง 1,250 เมตร และลอยไปไกลได้ถึงแม้กระทั่งอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลาของภาคใต้


          






เหตุการณ์ที่น่าชมมากที่สุดจัดขึ้นที่บริเวณประตูท่าแพ จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศสามารถชมพุ่มต่าง ๆ การเดินขบวนและนางงามยี่เป็งได้ด้วยทันทีที่พลบค่ำคนชมจะได้ตื่นเต้นกับการได้เห็นโคมลอยที่ดูติดกันเป็นสายยาวค่อย ๆ ลอยขึ้นไปสู่ท้องฟ้าอันเวิ้งว้างเหมือนหนึ่งจะกระตุ้นจิตใจของผู้ที่ร่วมงานให้ลอยสูงขึ้นไปบนสวรรค์ไม่มีผิด นี่เป็นการนำมาซึ่งความรื่นเริงและความสุขแก่ผู้ที่ได้ทำบุญเพราะว่าโชคร้ายต่าง ๆของพวกเขาได้ถูกลอยไปพร้อม ๆ กับโคมหมดแล้ว

CHAPTER 5

E-Commerce
ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Business)
ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Business) คือกระบวนการดำเนินธุรกิจโดยอาศัยเทคโนโลยีเครือข่ายที่เรียกว่าองค์การเครือข่ายร่วม (Internetworked Network) ไม่ว่าจะเป็นการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce) การติดต่อสื่อสารและการทำงานร่วมกัน หรือแม้แต่ระบบธุรกิจภายในองค์กร

การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce)
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic commerce) คือ การทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในทุกช่องทางที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การซื้อขายสินค้าและบริการ การโฆษณาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ โทรทัศน์ วิทยุ หรือแม้แต่อินเทอร์เน็ต เป็นต้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดค่าใช้จ่าย และเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กร โดยการลดบทบาทองค์ประกอบทางธุรกิจลง เช่น ทำเลที่ตั้ง อาคารประกอบการ
โกดังเก็บสินค้า ห้องแสดงสินค้า รวมถึงพนักงานขาย พนักงานแนะนำสินค้า พนักงานต้อนรับลูกค้า เป็นต้น จึงลดข้อจำกัดของระยะทาง และเวลาลงได้

กรอบการทำงาน (E-Commerce Framework)




การประยุกต์ใช้ (E-commerce Application)


·       - การค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ (E-Retailing)
           - การโฆษณาอิเล็กทรอนิกส์ (E-Advertisement)
·       - การประมูลอิเล็กทรอนิกส์ (E-Auctions)
·       - การบริการอิเล็กทรอนิกส์(E-Service)
·       - รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (E-Government)
·       - การพาณิชย์ผ่านระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ (M-Commerce : Mobile Commerce)

โครงสร้างพื้นฐาน (E-Commerce Infrastructure)

องค์ประกอบหลักสำคัญด้านเทคโนโลยีพื้นฐาน ที่จะนำมาใช้เพื่อการพัฒนาระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ โดยแบ่งออกเป็น 4 ส่วนได้แก่
1. ระบบเครือข่าย (Network)
2. ช่องทางการติดต่อสื่อสาร (Chanel Of Communication)
3. การจัดรูปแบบและการเผยแพร่เนื้อหา (Format & Content Publishing)
4. การรักษาความปลอดภัย (Security)

การสนับสนุน (E-Commerce Supporting)
ส่วนของการสนับสนุนจะทำหน้าที่ช่วยเหลือและสนับสนุนส่วยของการประยุกต์ใช้งานให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เปรียบเสมือนเสาหลักของบ้าน ที่ทำหน้าที่ค้ำจุนให้หลังคาบ้านอย่างไรก็ตามเสาบ้านก็ต้องอาศัยพื้นบาน ในส่วนของโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อที่จะยืนหยัดอยู่ได้อย่างมั่นคงต่อไป สำ หรับส่วนสนับสนุนของ E-Commerce มีองค์ประกอบ 5 ส่วนด้วยกันดังต่อไปนี้
1. การพัฒนาระบบงาน E-Commerce Application Development
2. การวางแผนกลยุทธ์ E-Commerce Strategy
3. กฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ E-Commerce Law
4. การจดทะเบียนโดเมนเนม Domain Name Registration
5. การโปรโมทเว็บไซต์ Website Promotion


ประเภทของ E-Commerce
กลุ่มธุรกิจที่ค้ากำไร (Profits Organization)
1. Business-to-Business (B2B)
2. Business-to-Customer (B2C)
3. Business-to-Business-to-Customer (B2B2C)
4. Customer-to-Customer (C2C)
5. Customer-to-Business (C2B)
6. Mobile Commerce



E-Commerce Business Model

แบบจำลองทางธุรกิจหมายถึงวิธีการดำเนินการทางธุรกิจที่ช่วยสร้างรายได้ อันจะทำให้บริษัทอยู่ต่อไปได้ นอกจากนี้ยังรวมถึงกิจกรรมที่ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Add) ให้กับสินค้าและบริการวิธีการที่องค์กรคิดค้นขึ้นมาเพื่อประยุกต์ใช้ทรัพยากรขององค์กรอย่างเต็มที่ อันจะก่อให้เกิดผลกำไรสูงสุดและเพิ่มมูลค่า
ของสินค้าและบริการ


ข้อดีและข้อเสียของ E-Commerce
ข้อดี
1.สามารถเปิดดำเนิน การได้ตลอด 24 ชั่วโมง
2.สามารถดำเนินการค้าขายได้อย่างอิสระทั่วโลก
3.ใช้ต้นทุนในการลงทุนต่ำ
4.ไม่ต้องเสียค่าเดินทางในระหว่างการดำเนินการ
5.ง่ายต่อการประชาสัมพันธ์ และยังสามารถประชาสัมพันธ์ในครั้งเดียวแต่ไปได้ทั่วโลก
6.สามารถเข้าถึงลูกค้าที่ใช้บริการอินเทอร์เนตได้ง่าย
7.ประหยัดค่าใช้จ่ายและเวลาสำหรับผู้ซื้อและผู้ขาย
8.ไม่จำเป็นต้องเปิดเป็นร้านขายสินค้าจริงๆ

ข้อเสีย
1.ต้องมีระบบการรักษาความปลอดภัยของระบบที่มีประสิทธิภาพ
2.ไม่สามารถเข้าถึงลูกค้าที่ไม่ได้ใช้บริการอินเทอร์เนตได้
3.ขาดความเชื่อมั่นในเรื่องการชำระเงินผ่านทางบัตรเครดิต
4.ขาดกฎหมายรองรับในเรื่องการดำเนินการธุรกิจขายสินค้าแบบออนไลน์

5.การดำเนินการทางด้านภาษียังไม่ชัดเจน

CHAPTER 4


E-business strategy

         

          

 ความหมายของ Strategy
      การกำหนดทิศทาง และ แนวทางในการปฏิบัติ ในอนาคต ขององค์กร เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กรที่ได้วางไว้






ความหมายของ E-Strategy
          วิธีการที่จะทำให้กลยุทธ์ขององค์กรบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ โดยการนำการสื่อสารผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้งาน ทั้งการสื่อสารภายในองค์กร และ การสื่อสารภายนอกองค์กร


Business Strategy
          คือ กลยุทธ์ที่จะเชื่อมให้ แบบจำลองทางธุรกิจ เป็นจริงได้ ทำยังไงให้ การสร้าง มูลค่า นั้นเป็นจริงได้ แล้วทำยังไงที่จะส่ง มูลค่า นั้นให้กับลูกค้าได้ดีที่สุด และทำยังไงให้มันแตกต่าง การทำธุรกิจด้านอิเล็กทรอนิกส์ ไม่ใช่เพียงแค่การสร้างธุรกิจออนไลน์ แต่เป็นการสร้างธุรกิจที่มีความแตกต่างอย่างไรก็ตามในเรื่องนี้จะพูดถึงตัวแบบขั้นตอนกลยุทธ์หลักในการทำธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ ทั้ง 4 ขั้นตอนดังนี้
  Strategic evaluation : กลยุทธ์การประเมิน
 Strategic objectives : กลยุทธ์การวางแผนวัตถุประสงค์
 Strategy definition : กลยุทธ์การกำหนดนิยาม
 Strategy implementation : กลยุทธ์การดำเนินงาน



กลยุทธ์ของธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ (E-Business Strategies)
กลยุทธ์ เป็นตัวกำหนดทิศทางและการดำเนินงาน ด้านต่างๆ ขององค์กร กลยุทธ์เป็นเสมือนกับเหตุผลและความมุ่งหมายขององค์กร ไม่เพียงแต่กลยุทธ์เท่านั้นที่สำคัญ แต่การวางแผนและการลงมือจำเป็นไม่แพ้กัน สรุปปัจจัยสำคัญของกลยุทธ์ที่สามารถนำมาใช้ได้ซึ่งก็คือ
 ขึ้นอยู่กับสิ่งที่เป็นอยู่ในตลาดขณะนี้หรือไม่
 กำหนดนิยามว่าจะไปถึงวัตถุประสงค์ที่วางไว้อย่างไร
 กำหนดการจัดสรรทรัพยากรเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
 เลือกกลยุทธ์ที่เหมาะสมเพื่อ ที่จะได้เปรียบคู่ค้า ในตลาด
 จัดหาแผนงานระยะยาวเพื่อพัฒนาองค์กร



E-channel strategies
           E-Channel ย่อมาจาก electronic channels คือ การสร้างช่องทางใหม่ๆ ในการกระจายสินค้า ทั้งจากลูกค้า และคู่ค้า โดยที่ช่องทางทางอิเล็กทรอนิกส์ สามารถกำหนดวิธีการที่ใช้ทำงานร่วมกับช่องทางอื่นๆจากหลายช่องทางของกลยุทธ์ E-Business

multi-channel e-business strategy
         กลยุทธ์หลายช่องทาง e - business เป็นการกำหนดวิธีการทางการตลาดที่แตกต่าง และ ช่องทางของห่วงโซ่อุปทาน ดังนั้นจึงควรมีการบูรณาการ และ ทุกๆกลยุทธ์ควรจะสนับสนุนซึ่งกัน

ตัวอย่าง multi-channel ของกลยุทธ์การเช็คอินของ AIR ASIA




  
Strategy process models for e-business
Strategy Formulation
 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกเพื่อหาโอกาสและภัยคุกคาม โดยพิจารณา ในแง่ต่างๆเช่น การเมือง เศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี การต่างประเทศ ตลาด ลูกค้า คู่แข่ง ผู้สนับสนุนวัตถุดิบ และตลาดแรงงาน ฯลฯ
 การวิเคราะห์สถานการณ์ภายในเพื่อหาจุดแข็งและจุดอ่อน เช่น ความสามารถ ด้านการตลาด การผลิต การเงิน สารสนเทศ กฎระเบียบ การจัดการ และ ทรัพยากรบุคคล ฯลฯ
 การกำหนดหรือทบทวนวิสัยทัศน์และภารกิจขององค์การเพื่อกำหนดให้แน่ชัดว่า


องค์การของเราจะมีลักษณะเช่นใด
มีหน้าที่บริการอะไร แก่ใครบ้าง
โดยมีปรัชญา หรือค่านิยมหลักในการดำเนินการเช่นใด
 การกำหนดวัตถุประสงค์ขององค์การในระยะของแผนกลยุทธ์
 การวิเคราะห์และเลือกกำหนดกลยุทธ์และแนวทางพัฒนาองค์การ


Strategic Implementation
 การกำหนดเป้าหมายการดำเนินงาน
 การวางแผนปฏิบัติการ (Action Plan) ที่ระบุกิจกรรมต่างๆ ที่จะต้องดำเนินการ
 การปรับปรุง พัฒนาองค์การ เช่น ในด้านโครงสร้างระบบงาน ทรัพยากรบุคคล วัฒนธรรมองค์การและ ปัจจัยการบริการต่างๆ ในองค์การ


Strategic Control and Evaluation
 การติดตามตรวจสอบผลการดำเนินงานตามแผนกลยุทธ์
 การติดตามสถานการณ์และเงื่อนไขต่างๆ ทีอาจเปลี่ยนแปลงไปซึ่งอาจทำให้ต้องมีการปรับแผนกลยุทธ์



Strategy process models for e-business
การจัดวางกลยุทธ์





การนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ

CHAPTER 3

E-Environment

สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ แบ่งได้เป็น  2 ประเภท
- สภาพแวดล้อมภายนอกธุรกิจ Internal Environment สภาวะแวดล้อมที่ธุรกิจสามารถควบคุมได้ เป็นไปตามความต้องการของธุรกิจถือว่าเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อโปรแกรมการตลาด
- สภาพแวดล้อมภายในธุรกิจ External Environment ภาวะแวดล้อมที่ธุรกิจไม่สามารถควบคุมได้ ปัจจัยบังคับภายนอกธุรกิจที่มีอิทธิพลต่อระบบการตลาดเป็นปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ คือสร้างโอกาสหรืออุปสรรคแก่ธุรกิจ ประกอบด้วย สิ่งแวดล้อมจุลภาค และสิ่งแวดล้อมมหภาค


สภาพแวดล้อมภายนอกธุรกิจระดับจุลภาค
 ภาวะแวดล้อมภายนอกที่ไม่สามารถควบคุมได้ แต่สามารถเลือกที่จะติดต่อและเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม
     - ตลาด หรือลูกค้า
     - ผู้ขายปัจจัยการผลิตหรือวัตถุดิบ
     - คนกลางทางการตลาด
     - สาธารณชนและกลุ่มผลประโยชน์


สภาพแวดล้อมภายนอกธุรกิจระดับมหภาค

     สภาพแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินธุรกิจและต่อระบบการตลาดเป็นอย่างมากไม่สามารถควบคุมการเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้
     - ด้านการเมืองและกฏหมาย
     - เศรษฐกิจ
     - สังคม
     - เทคโนโลยี



การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อการบริหารธุรกิจ
S (Strengths)
จุดแข็ง
     เป็นปัจจัยภายในที่สามารถควบคุมได้ตามศักยภาพของธุรกิจที่มีอยู่ จุดแข็งนี้จะก่อให้เกิดผลดีต่อธุรกิจ ซึ่งส่งผลมาจากการบริหารงานภายในระหว่างผู้บริหารและบุคลากร หรืออาจมาจากความได้เปรียบในด้านทรัพยากรทางการบริหารต่างๆ
W (Weaknesses)
จุดอ่อน
     เป็นปัจจัยภายในที่เกิดจากปัญหาภายในธุรกิจ อันเนื่องมาจากการบริหารงานที่ผิดพลาด ข้อจำกัดบางประการของศักยภาพทางธุรกิจ ปัญหาเหล่านี้จะส่งผลร้ายถ้าไม่รีบดำเนินการแก้ไข

O (Opportunities)
โอกาส
     เป็นปัจจัยภายนอกที่ธุรกิจไม่สามารถเข้าไปควบคุมให้เกิดหรือไม่เกิดขี้นได้ แต่เป็นสภาวการณ์แวดล้อมอันส่งผลดีให้กับธุรกิจโดยบังเอิญ

T (Threats)
อุปสรรค
     เป็นปัจจัยภายนอกที่ธุรกิจไม่สามารถเข้าไปควบคุมให้เกิดหรือ ไม่เกิดขึ้นได้ เป็นสภาวะการณ์แวดล้อมอันเลวร้ายที่ส่งผลกระทบให้ธุรกิจเสียหาย


การวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ด้วย TOWS Matrix
กลยุทธ์เชิงรุก (
So Strategy)
     เป็นการใช้จุดแข็งบนโอกาสที่มีได้มาจากการนำข้อมูลการประเมินสภาพแวดล้อมที่เป็นจุดแข็งและโอกาสมาพิจารณาร่วมกัน เพื่อที่จะนำมากำหนดเป็นยุทธศาสตร์หรือกลยุทธ์ในเชิงรุก

กลยุทธ์เชิงป้องกัน (ST Strategy)
     เป็นการใช้จุดแข็งป้องกันอุปสรรค ได้มาจากการนำข้อมูลการประเมินสภาพแวดล้อมที่เป็นจุดแข็งและข้อจำกัดมาพิจารณาร่วมกัน เพื่อที่จะนำมากำหนดเป็นยุทธศาสตร์หรือกลยุทธ์ในเชิงป้องกัน

กลยุทธ์เชิงแก้ไข (WO Strategy)
     เป็นการขจัดจุดอ่อนโดยใช้โอกาส ได้มาจากการนำข้อมูลการประเมินสภาพแวดล้อมที่เป็นจุดอ่อนและโอกาสมาพิจารณาร่วมกันเพื่อที่จะนำมากำหนดเป็นยุทธศาสตร์หรือกลยุทธ์ในเชิงแก้ไข



กลยุทธ์เชิงรับ (WT Strategy)
     เป็นการขจัดจุดอ่อนป้องกันอุปสรรคได้มาจากการนำข้อมูลการประเมินสภาพแวดล้อมที่เป็นจุดอ่อนและข้อจำกัดมาพิจารณาร่วมกัน เพื่อที่จะนำมากำหนดเป็นยุทธศาสตร์หรือกลยุทธ์ในเชิงรับ

วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

CHAPTER 2 [part2]

















       บล็อก (blog) เป็นคำรวมมาจากคำว่า เว็บล็อก (weblog) เป็นรูปแบบเว็บไซต์ประเภทหนึ่ง ซึ่งถูกเขียนขึ้นในลำดับที่เรียงตามเวลาในการเขียน ซึ่งจะแสดงข้อมูลที่เขียนล่าสุดไว้แรกสุด บล็อกโดยปกติจะประกอบด้วย ข้อความ ภาพ ลิงก์ ซึ่งบางครั้งจะรวมสื่อต่างๆ ไม่ว่า เพลง หรือวิดีโอในหลายรูปแบบได้ จุดที่แตกต่างของบล็อกกับเว็บไซต์โดยปกติคือ บล็อกจะเปิดให้ผู้เข้ามาอ่านข้อมูล สามารถแสดงความคิดเห็นต่อท้ายข้อความที่เจ้าของบล็อกเป็นคนเขียน ซึ่งทำให้ผู้เขียนสามารถได้ผลตอบกลับโดยทันที คำว่า "บล็อก" ยังใช้เป็นคำกริยาได้ซึ่งหมายถึง การเขียนบล็อก และนอกจากนี้ผู้ที่เขียนบล็อกเป็นอาชีพก็จะถูกเรียกว่า "บล็อกเกอร์"

บล็อกเป็นเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาหลากหลายขึ้นอยู่กับเจ้าของบล็อก โดยสามารถใช้เป็นเครื่องมือสื่อสาร การประกาศข่าวสาร การแสดงความคิดเห็น การเผยแพร่ผลงาน ในหลายด้านไม่ว่า อาหาร การเมือง เทคโนโลยี หรือข่าวปัจจุบัน นอกจากนี้บล็อกที่ถูกเขียนเฉพาะเรื่องส่วนตัวหรือจะเรียกว่าไดอารีออนไลน์ ซึ่งไดอารีออนไลน์นี่เองเป็นจุดเริ่มต้นของการใช้บล็อกในปัจจุบัน นอกจากนี้ตามบริษัทเอกชนหลายแห่งได้มีการจัดทำบล็อกของทางบริษัทขึ้น เพื่อเสนอแนวความเห็นใหม่ใหักับลูกค้า โดยมีการเขียนบล็อกออกมาในลักษณะเดียวกับข่าวสั้น และได้รับการตอบรับจากทางลูกค้าที่แสดงความเห็นตอบกลับเข้าไป เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์

Internet Forum
  ทำหน้าที่คล้าย bulletin board และnewsgroup
  มีการรวบรวมข้อมูลทั่ว ๆไป เช่น เทคโนโลยี, เกม,คอมพิวเตอร์, การเมือง ฯลฯ
 ผู้ใช้สามารถโพสหัวข้อลงไปในกระดานได้
  ผู้ใช้คนอื่นๆ ก็สามารถเลือกดูหัวข้อหรือแม้กระทั้ง โพสความคิดเห็นของตนเองลงไปได้


  
Wiki
Wiki อ่านออกเสียง "wicky", "weekee" หรือ "veekee"สามารถสร้างและแก้ไขหน้าเว็บเพจขึ้นมาใหม่ผ่านทางบราวเซอร์ โดยไม่ต้องสร้างเอกสาร html เหมือนแต่ก่อน

Wiki เน้นการทำระบบสารานุกรม, HOWTOs ที่รวมองค์ความรู้หลายๆ แขนงเข้าไว้ด้วยกันโดยเฉพาะ
มีเครื่องมือที่ใช้ทำ Wiki หลายอย่าง เช่น Wikipedia เป็นต้น
 Wikipedia เป็นระบบสารานุกรม(Encyclopedia) สาธารณะที่ทุกคนสามารถใส่ข้อมูลลงไปได้ รองรับภาษามากกว่า 70 ภาษารวมทั้งภาษาไทย
มีการประยุกต์ใช้ซอฟต์แวร์วิกิที่สำคัญยิ่ง ในการสร้างสารานุกรม ที่เปิดโอกาสให้ใครก็ได้มาร่วมกันสร้างสารานุกรมที่ http://www.wikipedia.org
วิกิพีเดียในภาคภาษาไทยที่ http://th.wikipedia.org
ในปัจจุบันวิกิพีเดียถือว่าเป็นแหล่งความรู้ที่สำคัญ
ซอฟต์แวร์เพื่อสังคมที่ดี พึงคงคุณลักษณะของการเปิดพื้นที่ให้กับปัจเจกบุคคลในการสื่อต่อสาธารณะโดยมีการควบคุมน้อยที่สุด
เพื่อให้การประมวลสังคม เป็นไปอย่างอิสระปราศจากการครอบงำจากเจ้าของเทคโนโลยีให้มากที่สุด
ดังนั้นการสร้างหรือพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อสังคมใดๆ พึงตระหนักถึงหลักการเคารพในสิทธิของปัจเจก (individual) ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
  
Instant Messaging
  -     เป็นการอนุญาตให้มีการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลบนเครือข่ายที่เป็นแบบ relative privacy
  -     ตัวอย่างเช่น Gtalk, Skype, Meetro, ICQ, Yahoo Messenger, MSN Messengerและ AOL Instant Messenger เป็นต้น





Folksonomy (ปัจเจกวิธาน)
 ก่อนหน้าการกำเนิดขึ้นของปัจเจกวิธาน โดยทั่วไปแล้ว ได้มีการจัดกลุ่มการจัดระเบียบและค้นหาข้อมูลในอินเทอร์เน็ต โดยทั่วไปมี 3 แบบ คือ
1. ค้นหาในเนื้อความ (Text Search)
- ตัวอย่างเช่น Google ที่ก่อตั้งโดย Sergery Brin และ Larry Page
- ได้ออกแบบเพื่อจัดอับดับความสำคัญของเว็บโดยคำนวณจากการนับ Link จากเว็บอื่นที่ชี้มาที่เว็บหนึ่ง ๆ
- เป็นที่น่าติดตามว่าจะมีเทคนิควิธีในการค้นหาข้อมูลใหม่ ๆ
2. เรียงเนื้อหาตามลำดับเวลา (Chronological)
- เนื้อหาข้อมูลจะถูกจัดเก็บเรียงลำดับเวลาโดยแสดงตามเวลาใหม่ล่าสุดก่อน
- เช่น เว็บไซต์ประเภทข่าว อย่าง CNN, BBC และ google news เนื้อหาเก่าจะตกไปอยู่ด้านล่าง
- Blog ก็ใช้วิธีจัดเรียงตามเวลาเช่นกัน
- ทั้งนี้หากต้องการอ่านเนื้อหาเก่าก็สามารถคลิกดูที่ปฏิทินได้
3. แยกตามกลุ่มประเภท (Category, Classification)
- การจัดระเบียบแบบนี้ยึดเอาหัวเป็นหลัก แล้วแยกประเภทออกไป เช่น แบ่งหนังสือเป็นประเภทธุรกิจ, หนังสือเด็ก, นวนิยาย, คอมพิวเตอร์, ศาสนา, วิทยาศาสตร์ ฯลฯ ลักษณะอื่น ๆ
- จะช่วยให้ค้นหาข้อมูลได้ง่ายขึ้น

กำเนิดปัจเจกวิธาน
-Joshua Schachter เริ่มรวบรวมเก็บเว็บต่าง ๆ เป็น Bookmark ของตนเองคนเดียวไว้มากและใช้ keywordเพื่อจัดกลุ่มแทน
-เช่น “search engine tools” และ “password security tools” ก็สามารถดึงรายชื่อเว็บทั้งหมดออกมาได้ทันที
-ปัจเจกวิธาน เรียก keyword นี้ว่า tag เป็นคำสัก 2-7 คำที่เกี่ยวกับเว็บใหม่ที่สามารถจัดเป็นกลุ่มเว็บได้
-ตัวอย่าง tag ที่เกี่ยวกับ Google Maps
  
Tag
วิธีการใช้ tag นี้มีความสะดวกตรงที่ไม่ต้องจัดลำดับชั้นการจัดระเบียบเช่นเดิม การค้นเจอเว็บก็ได้จาก tagหลาย ๆ ตัวได้ ไม่จำกัดอยู่แต่ข้อมูลใน Folder เดียวกัน Joshua นำให้ทุก ๆ คนสามารถตรวจดูเว็บที่มีการตั้งชื่อ tag โดยผู้อื่นได้

-คำว่า Folksonomy นี้ มีที่มาจากการที่ ใครก็ได้ทุก ๆ คน (Folk) มีสิทธิในการจัดทำอนุกรมวิธาน(Taxonomy) หรือ จัดกลุ่มประเภทหมวดหมู่ของเอกสารในโลกอินเทอร์เน็ตให้อยู่ในแบบที่ตนเข้าใจ
-ต่างจากการทำ Taxonomy เช่น การจัดประเภทสัตว์หรือพืช ที่อาศัยผู้รู้ เป็นผู้ดำเนินการและให้ผู้อื่นจัดว่าอะไรควรจะอยู่ประเภทไหนตามที่ผู้รู้นั้นได้กำหนดไว้แล้ว

คุณลักษณะพิเศษ ที่ได้จากปัจเจกวิธาน
-กระแสการติดตามเว็บใหม่ ๆ ตามชื่อ Tag (Stream and Feed)
-การเห็นกลุ่ม Tag ก่อตัวกันมองคล้ายกลุ่มเมฆ ตามหัวเรื่องที่สนใจ (Tag Cloud)
-การให้คะแนนความนิยม (Rating and Popularity)
-การท่องอินเทอร์เน็ตอย่างที่มีเนื้อหาข้อมูลข้ามสายกัน (Cross-Navigation)

กระแสการติดตามเว็บใหม่ (Stream and Feed)
-จากตัวอย่าง มีหน้าเฉพาะสำหรับ Tag คำว่า Tools ซึ่งก็อาจจะมีหน้าเฉพาะอื่น ๆ ให้ เข้าไปติดตาม Tagเฉพาะใด ๆ ได้ เช่น ถ้าท่านสนใจเรื่องภาษาไทย ท่านอาจจะตามอ่านได้จากหน้า “tag/thai” หรือ“tag/thai+language”
-นอกจากนี้ยังมีการสร้าง RSS feed สำหรับหน้าดังกล่าว เพื่อใช้เตือนทาง RSS reader ว่ามีเนื้อหาใหม่ ๆ ตาม Tag ดังกล่าว เกิดขึ้นเพิ่มขึ้นมา

กลุ่ม Tag ก่อตัวกันมองคล้ายกลุ่มเมฆ (Tag Cloud)
-เมื่อมีการใส่ tag เป็นจำนวนมากแล้ว ระบบของ ปัจเจกวิธาน สามารถแสดงภาพรวมออกมาได้ว่า ทุก ๆ คนใช้ tag ใดมากน้อยเพียงใด (ดังรูป) Tag ใดที่มีคนใช้มาก ก็จะตัวใหญ่ tag ใดใช้น้อยก็จะตัวเล็ก
-การแสดงภาพรวมนี้สามารถทำได้ทั้งของทุก ๆ คนรวมกัน หรือ เฉพาะบุคคลไป (ซึ่งจะชี้ให้เห็นได้ว่าบุคคลนั้นสนใจเรื่องใดบ้าง)
  
การให้คะแนนความนิยม (Rating and Popularity)
-การที่เว็บมีข้อมูลจำนวนมาก ทำให้ยากต่อการตัดสินใจเลือกว่าข้อมูลใดน่าสนใจที่สุด
-ระบบของปัจเจกวิธาน ช่วยแก้ปัญหานี้ได้ โดยการแสดงจำนวนผู้ใช้ที่ได้ใส่ tag ให้กับเว็บนั้น ๆ ถ้ามีจำนวนผู้ใช้ที่ใส่ tag มาก ก็แสดงว่าเว็บนั้นเป็นที่นิยม

เนื้อหาข้อมูลข้ามสายกัน (Cross-Navigation)
-การใช้แกนในการค้นหาถึงสามอย่างได้ช่วยให้พบข้อมูลใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น แกนดังกล่าว ได้แก่
-User : เว็บทั้งหมดที่ผู้ใช้ผู้นี้ใส่ tag ให้และเรียกดู tag cloud ของผู้ใช้ผู้นี้ได้ด้วย
-Tag: เว็บทั้งหมดที่มีการใส่ tag และเรียกดู tag ที่เกี่ยวข้องได้ด้วย
-URL: เว็บเว็บนี้มีใครใส่ tag บ้าง และใส่ว่าอะไรบ้าง
-การค้นหา อาจจะเริ่มจากที่ User แล้วไปที่แกน tag และทำให้พบ tag ที่เกี่ยวข้องได้อีก โดยไม่ได้ตั้งใจไว้ก่อนแต่แรก

การใช้ tag สามารถพบได้ในการนำไปกับเนื้อหาอื่น ๆ
-Flickr.com เก็บ และ ใส่ tag ให้กับรูปภาพ
-CiteULike.org เก็บและใส่ tag ให้เอกสารงานวิจัย (academic paper)
-43Things.com บันทึกสิ่งที่อยากทำให้ชีวิตพร้อมกับใส่ tag ให้กิจกรรมนั้น
-Tagzania.com บันทึกสถานที่ และใส่ tag ให้กับสถานที่หรือแผนที่


อนาคตของ ปัจเจกวิธาน (Folksonomy)
-ระบบการใช้ tag จะมีการนำไปประยุกต์ใช้กับ Blog และ Wiki เพื่อความสะดวกให้การค้นหาความรู้ต่าง ๆ ที่บรรจุไว้ในซอฟต์แวร์ทั้งสอง
-ในระยะยาวอาจจะมีการแข่งขันของโปรแกรมลักษณะนี้อีกก็เป็นไปได้ โดยที่อาจจะมีคุณลักษณะเพิ่มเติมที่ง่ายต่อการใช้งาน และมีความสามารถใหม่ ๆ

Networking standards

ในส่วนนี้จะกล่าวถึง Internet Standard เป็นขบวนการที่เกี่ยวข้องกับทุก ๆ protocol & procedure และระเบียบแบบแผนต่าง ๆ ที่ใช้ในระบบอินเตอร์เน็ต ไม่จำเป็นว่ามันจะเป็นส่วนหนึ่งของ TCP/IP protocol หรือไม่ในกรณีของหลาย ๆ protocol จะถูกพัฒนาและทำให้เป็นมาตรฐานด้วยองค์กรที่ไม่ใช่เป็นองค์การของอินเตอร์เน็ต (non-Internet organizations) แต่อย่างไรก็ตามโดยทั่วไปแล้ว the Internet Standards Process ก็จะถูกทำให้เป็น application ของ โปรโตคอลและ procedure ของ Internet context ไม่ใช่ว่าเพื่อระบุให้โปรโตคอลของมันเอง



TCP/IP

-ข้อตกลงในการควบคุมการรับส่งข้อมูล และ internet หรือ protocol ของระบบ internet Transmission Control Protocol/Internet
-โปรโตคอล TCP/IP เป็นชื่อเรียกของชุดโปรโตคอลที่สำคัญ มีการใช้งานกันอย่างแพร่หลายตามการขยายตัวของอินเตอร์เน็ต/อินทราเน็ต ความจริงแล้วโปรโตคอล TCP/IP เป็นกลุ่มของโปรโตคอลหลายตัว ที่ประกอบกันเป็นชุดให้ใช้งาน โดยมีคำเต็มว่า Transmission Control Protocol/Internet Protocol ซึ่งจากชื่อเต็มทำให้ เราเห็นว่าอย่างน้อยก็มีโปรโตคอลประกอบกันทำงานร่วมกัน 2 โปรโตคอล คือ TCP และ IP
-โปรโตคอลที่มีบทบาทสำคัญในการทำงานในเครือข่ายอินเตอร์เน็ต คือ Internet Protocol (โปรโตคอลIP) เนื่องจาก เมื่อโปรโตคอลอื่น ๆ ต้องการส่งผ่านข้อมูลข้ามเครือข่ายในอินเตอร์เน็ตนั้น จะต้องอาศัยการผนึกข้อมูล (encapsulation) ไปกับโปรโตคอล IP ที่มีกลไกการระบุเส้นทาง (route service) ผ่านGateway หรือ Router เนื่องจากกลไกการระบุเส้นทาง จะทำงานที่โปรโตคอล IP เท่านั้น และด้วยเหตุนี้เราจึงเรียก IP ว่าเป็นโปรโตคอลที่มีความสามารถระบุเส้นทางการส่งผ่านของข้อมูลได้ (routable)


The HTTP protocol

HTTP มาจากคำว่า Hypertext Transfer Protocol ซึ่งเป็น Protocol ที่ใช้ในการส่งเดต้าต่าง ๆ ในโลกของ World Wide Web. เดต้าต่าง ๆ เหล่านี้โดยทั่วไปมักจะถูกเรียกว่า Resource โดย Resource เหล่านี้อาจจะเป็นไฟล์ เช่น HTML ไฟล์, หรือคำสั่งต่าง ๆ (Query String)
HTTP เป็น network protocol ที่ใช้หลักการของ client-server model ในการติดต่อสื่อสารซึ่งหลักการทำงานอย่างคร่าว ๆ มีดังนี้
1.HTTP Client จะทำการสร้างคอนเนคชั่นไปหา HTTP Server ซึ่งโดยทั่วไปจะผ่านทาง socket ของTCP/IP
2.หลังจากนั้น HTTP Client จะทำการส่งคำสั่ง (request) ซึ่งโดยทั่วไปจะผ่านทาง socket ของ TCP/IP
3. HTTP Server จะทำการตีความคำสั่งที่ได้และส่งผล (response) ซึ่งเป็น resource ที่ HTTP Clientต้องการกลับมา (ผลที่ส่งกลับมาจะเป็นลักษณะของ message คล้ายกับ request ของ HTTP Client ที่ส่งมาให้ HTTP Server)
4.หลังจากที่การส่ง response เสร็จสิ้น, HTTP Server จะทำการปิดคอนเนคชั่นที่มาจาก HTTP Client
5.ในกรณีที่ HTTP Client ต้องการ resource อื่น ๆ, HTTP Client จะต้องการทำการสร้างคอนเนคชั่นใหม่และส่งคำสั่งไปหา HTTP Server อีกครั้ง จากหลักการข้างต้นจะเห็นว่าการติดต่อสื่อสารระหว่าง Client และServer จะเป็นลักษณะครั้งต่อครั้งในทาง network เราเรียกการติดต่อสื่อสารแบบนี้ว่า Stateless Protocol

Uniform resource locators (URLs)

คือตัวระบุแหล่งทรัพยากรสากล (URI) ประเภทหนึ่ง ซึ่งใช้สำหรับระบุแหล่งที่อยู่ของทรัพยากรที่ต้องการ และมีกลไกบางอย่างสำหรับดึงข้อมูลทรัพยากรนั้นมา ในการใช้เอกสารทางเทคนิคและการอภิปรายทั่วไป มักจะใช้ URL แทน ความหมายที่คล้ายกับ URI ซึ่งไม่ใช่ความหมายที่ถูกต้องและอาจทำให้เกิดความสับสน ในภาษาพูดทั่วไป URL อาจหมายถึง ที่อยู่บนเว็บ หรือ ที่อยู่ Internet ก็ได้ ซึ่งปกติแล้วเรามักพิมพ์ URL ในแถบที่อยู่ของ Web browser เพื่อเรียกข้อมูลจากเว็บไซต์

Domain names

คือ ชื่อเว็บไซต์ (www.yourdomain.com) ที่สามารถเป็นเจ้าของ ซึ่งจะต้องไม่ซ้ำกับคืนอื่น เพื่อการเรียกหาเว็บไซต์ที่ต้องการ ชื่อเว็บไซต์คือ สิ่งแรกที่แสดง หรือ ประกาศความมีตัวตนบนอินเตอร์เน็ตให้คนทั่วไปได้รู้จัก สามารถมีได้ชื่อเดียวในโลกเท่านั้น เช่น www.gict.co.th เมื่อผู้ใช้กรอกชื่อลงไปในช่อง Address ของ Internet Explorer ก็จะส่งชื่อไปร้องถามจากเครื่องแปลชื่อ Domain Name Server และได้รับกลับมาเป็นไอพีแอดเดรส (Internet Protocol) แล้วส่งคำร้องไปให้กับเครื่องปลายทางตามไอพีแอดเดรส และได้ข้อมูลกลับมาตามรูปแบบที่ร้องขอไป
ข้อควรรู้ก่อนจดโดเมน

-ความยาวของชื่อ Domain ตั้งได้ไม่เกิน 63 ตัวอักษร
-Domain ต้องจดในชื่อของเราเท่านั้น Domain Ownership
-ถ้าเป็น Domain ของบริษัท พยายามจดภายใต้บริษัท อย่าจดชื่อพนักงาน IT
-ข้อมูลที่สำคัญที่สุดของ Domain คือ Owner Detail
-ใช้อีเมล์ที่จะอยู่กับเราตลอดไปในการจดโดเมน ซึ่งเป็นสิ่งเดียวที่ใช้ติดต่อกับเราเรียกว่า Registrant E-mail

-บันทึกข้อมูลเกี่ยวกับ Domain ของเราไว้ให้ดี วันหมดอายุ ผู้ติดต่อ และอื่น ๆ