วันพฤหัสบดีที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2556

CHAPTER 5

E-Commerce
ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Business)
ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Business) คือกระบวนการดำเนินธุรกิจโดยอาศัยเทคโนโลยีเครือข่ายที่เรียกว่าองค์การเครือข่ายร่วม (Internetworked Network) ไม่ว่าจะเป็นการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce) การติดต่อสื่อสารและการทำงานร่วมกัน หรือแม้แต่ระบบธุรกิจภายในองค์กร

การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce)
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic commerce) คือ การทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในทุกช่องทางที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การซื้อขายสินค้าและบริการ การโฆษณาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ โทรทัศน์ วิทยุ หรือแม้แต่อินเทอร์เน็ต เป็นต้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดค่าใช้จ่าย และเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กร โดยการลดบทบาทองค์ประกอบทางธุรกิจลง เช่น ทำเลที่ตั้ง อาคารประกอบการ
โกดังเก็บสินค้า ห้องแสดงสินค้า รวมถึงพนักงานขาย พนักงานแนะนำสินค้า พนักงานต้อนรับลูกค้า เป็นต้น จึงลดข้อจำกัดของระยะทาง และเวลาลงได้

กรอบการทำงาน (E-Commerce Framework)




การประยุกต์ใช้ (E-commerce Application)


·       - การค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ (E-Retailing)
           - การโฆษณาอิเล็กทรอนิกส์ (E-Advertisement)
·       - การประมูลอิเล็กทรอนิกส์ (E-Auctions)
·       - การบริการอิเล็กทรอนิกส์(E-Service)
·       - รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (E-Government)
·       - การพาณิชย์ผ่านระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ (M-Commerce : Mobile Commerce)

โครงสร้างพื้นฐาน (E-Commerce Infrastructure)

องค์ประกอบหลักสำคัญด้านเทคโนโลยีพื้นฐาน ที่จะนำมาใช้เพื่อการพัฒนาระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ โดยแบ่งออกเป็น 4 ส่วนได้แก่
1. ระบบเครือข่าย (Network)
2. ช่องทางการติดต่อสื่อสาร (Chanel Of Communication)
3. การจัดรูปแบบและการเผยแพร่เนื้อหา (Format & Content Publishing)
4. การรักษาความปลอดภัย (Security)

การสนับสนุน (E-Commerce Supporting)
ส่วนของการสนับสนุนจะทำหน้าที่ช่วยเหลือและสนับสนุนส่วยของการประยุกต์ใช้งานให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เปรียบเสมือนเสาหลักของบ้าน ที่ทำหน้าที่ค้ำจุนให้หลังคาบ้านอย่างไรก็ตามเสาบ้านก็ต้องอาศัยพื้นบาน ในส่วนของโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อที่จะยืนหยัดอยู่ได้อย่างมั่นคงต่อไป สำ หรับส่วนสนับสนุนของ E-Commerce มีองค์ประกอบ 5 ส่วนด้วยกันดังต่อไปนี้
1. การพัฒนาระบบงาน E-Commerce Application Development
2. การวางแผนกลยุทธ์ E-Commerce Strategy
3. กฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ E-Commerce Law
4. การจดทะเบียนโดเมนเนม Domain Name Registration
5. การโปรโมทเว็บไซต์ Website Promotion


ประเภทของ E-Commerce
กลุ่มธุรกิจที่ค้ากำไร (Profits Organization)
1. Business-to-Business (B2B)
2. Business-to-Customer (B2C)
3. Business-to-Business-to-Customer (B2B2C)
4. Customer-to-Customer (C2C)
5. Customer-to-Business (C2B)
6. Mobile Commerce



E-Commerce Business Model

แบบจำลองทางธุรกิจหมายถึงวิธีการดำเนินการทางธุรกิจที่ช่วยสร้างรายได้ อันจะทำให้บริษัทอยู่ต่อไปได้ นอกจากนี้ยังรวมถึงกิจกรรมที่ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Add) ให้กับสินค้าและบริการวิธีการที่องค์กรคิดค้นขึ้นมาเพื่อประยุกต์ใช้ทรัพยากรขององค์กรอย่างเต็มที่ อันจะก่อให้เกิดผลกำไรสูงสุดและเพิ่มมูลค่า
ของสินค้าและบริการ


ข้อดีและข้อเสียของ E-Commerce
ข้อดี
1.สามารถเปิดดำเนิน การได้ตลอด 24 ชั่วโมง
2.สามารถดำเนินการค้าขายได้อย่างอิสระทั่วโลก
3.ใช้ต้นทุนในการลงทุนต่ำ
4.ไม่ต้องเสียค่าเดินทางในระหว่างการดำเนินการ
5.ง่ายต่อการประชาสัมพันธ์ และยังสามารถประชาสัมพันธ์ในครั้งเดียวแต่ไปได้ทั่วโลก
6.สามารถเข้าถึงลูกค้าที่ใช้บริการอินเทอร์เนตได้ง่าย
7.ประหยัดค่าใช้จ่ายและเวลาสำหรับผู้ซื้อและผู้ขาย
8.ไม่จำเป็นต้องเปิดเป็นร้านขายสินค้าจริงๆ

ข้อเสีย
1.ต้องมีระบบการรักษาความปลอดภัยของระบบที่มีประสิทธิภาพ
2.ไม่สามารถเข้าถึงลูกค้าที่ไม่ได้ใช้บริการอินเทอร์เนตได้
3.ขาดความเชื่อมั่นในเรื่องการชำระเงินผ่านทางบัตรเครดิต
4.ขาดกฎหมายรองรับในเรื่องการดำเนินการธุรกิจขายสินค้าแบบออนไลน์

5.การดำเนินการทางด้านภาษียังไม่ชัดเจน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น