วันพฤหัสบดีที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2556

CHAPTER 3

E-Environment

สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ แบ่งได้เป็น  2 ประเภท
- สภาพแวดล้อมภายนอกธุรกิจ Internal Environment สภาวะแวดล้อมที่ธุรกิจสามารถควบคุมได้ เป็นไปตามความต้องการของธุรกิจถือว่าเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อโปรแกรมการตลาด
- สภาพแวดล้อมภายในธุรกิจ External Environment ภาวะแวดล้อมที่ธุรกิจไม่สามารถควบคุมได้ ปัจจัยบังคับภายนอกธุรกิจที่มีอิทธิพลต่อระบบการตลาดเป็นปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ คือสร้างโอกาสหรืออุปสรรคแก่ธุรกิจ ประกอบด้วย สิ่งแวดล้อมจุลภาค และสิ่งแวดล้อมมหภาค


สภาพแวดล้อมภายนอกธุรกิจระดับจุลภาค
 ภาวะแวดล้อมภายนอกที่ไม่สามารถควบคุมได้ แต่สามารถเลือกที่จะติดต่อและเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม
     - ตลาด หรือลูกค้า
     - ผู้ขายปัจจัยการผลิตหรือวัตถุดิบ
     - คนกลางทางการตลาด
     - สาธารณชนและกลุ่มผลประโยชน์


สภาพแวดล้อมภายนอกธุรกิจระดับมหภาค

     สภาพแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินธุรกิจและต่อระบบการตลาดเป็นอย่างมากไม่สามารถควบคุมการเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้
     - ด้านการเมืองและกฏหมาย
     - เศรษฐกิจ
     - สังคม
     - เทคโนโลยี



การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อการบริหารธุรกิจ
S (Strengths)
จุดแข็ง
     เป็นปัจจัยภายในที่สามารถควบคุมได้ตามศักยภาพของธุรกิจที่มีอยู่ จุดแข็งนี้จะก่อให้เกิดผลดีต่อธุรกิจ ซึ่งส่งผลมาจากการบริหารงานภายในระหว่างผู้บริหารและบุคลากร หรืออาจมาจากความได้เปรียบในด้านทรัพยากรทางการบริหารต่างๆ
W (Weaknesses)
จุดอ่อน
     เป็นปัจจัยภายในที่เกิดจากปัญหาภายในธุรกิจ อันเนื่องมาจากการบริหารงานที่ผิดพลาด ข้อจำกัดบางประการของศักยภาพทางธุรกิจ ปัญหาเหล่านี้จะส่งผลร้ายถ้าไม่รีบดำเนินการแก้ไข

O (Opportunities)
โอกาส
     เป็นปัจจัยภายนอกที่ธุรกิจไม่สามารถเข้าไปควบคุมให้เกิดหรือไม่เกิดขี้นได้ แต่เป็นสภาวการณ์แวดล้อมอันส่งผลดีให้กับธุรกิจโดยบังเอิญ

T (Threats)
อุปสรรค
     เป็นปัจจัยภายนอกที่ธุรกิจไม่สามารถเข้าไปควบคุมให้เกิดหรือ ไม่เกิดขึ้นได้ เป็นสภาวะการณ์แวดล้อมอันเลวร้ายที่ส่งผลกระทบให้ธุรกิจเสียหาย


การวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ด้วย TOWS Matrix
กลยุทธ์เชิงรุก (
So Strategy)
     เป็นการใช้จุดแข็งบนโอกาสที่มีได้มาจากการนำข้อมูลการประเมินสภาพแวดล้อมที่เป็นจุดแข็งและโอกาสมาพิจารณาร่วมกัน เพื่อที่จะนำมากำหนดเป็นยุทธศาสตร์หรือกลยุทธ์ในเชิงรุก

กลยุทธ์เชิงป้องกัน (ST Strategy)
     เป็นการใช้จุดแข็งป้องกันอุปสรรค ได้มาจากการนำข้อมูลการประเมินสภาพแวดล้อมที่เป็นจุดแข็งและข้อจำกัดมาพิจารณาร่วมกัน เพื่อที่จะนำมากำหนดเป็นยุทธศาสตร์หรือกลยุทธ์ในเชิงป้องกัน

กลยุทธ์เชิงแก้ไข (WO Strategy)
     เป็นการขจัดจุดอ่อนโดยใช้โอกาส ได้มาจากการนำข้อมูลการประเมินสภาพแวดล้อมที่เป็นจุดอ่อนและโอกาสมาพิจารณาร่วมกันเพื่อที่จะนำมากำหนดเป็นยุทธศาสตร์หรือกลยุทธ์ในเชิงแก้ไข



กลยุทธ์เชิงรับ (WT Strategy)
     เป็นการขจัดจุดอ่อนป้องกันอุปสรรคได้มาจากการนำข้อมูลการประเมินสภาพแวดล้อมที่เป็นจุดอ่อนและข้อจำกัดมาพิจารณาร่วมกัน เพื่อที่จะนำมากำหนดเป็นยุทธศาสตร์หรือกลยุทธ์ในเชิงรับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น